อากาศร้อน ห้องร้อน หรือในวันที่แดดแรง การได้อยู่ในห้องที่เย็นสบายก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี บทความนี้ เราจะมาพูดถึง สาเหตุของอากาศร้อนมาจากอะไร วิธีระบายความร้อนในห้อง มีอะไรบ้างให้เราได้สู้อากาศร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
อากาศร้อน สาเหตุมาจากอะไร?
ช่วงนี้หลายคนคงรู้สึกได้ถึงความร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ แดดแรง อากาศร้อนอบอ้าว รวมถึงภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อาทิ
1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีเทน (CH4) ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ)
2. การตัดไม้ทำลายป่า
ป่าไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดอุณหภูมิ การตัดไม้ทำลายป่าทำให้พื้นที่ป่าลดลง ส่งผลให้พื้นที่ที่เหลือได้รับความร้อนมากขึ้น
3. ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลให้พื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันออกอุ่นขึ้น ทำให้เกิดฝนตกมากขึ้นในพื้นที่เหล่านี้ และส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดแรงขึ้น พัดพาความร้อนและความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย
วิธีระบายความร้อนในห้อง สู้อากาศร้อนอบอ้าว
ห้องร้อน อากาศร้อนจัดจนแทบจะทนไม่ไหว หลายคนคงมองหาวิธีทำให้ห้องเย็น จะเปิดแอร์ตลอดเวลาก็อาจส่งผลต่อสุขภาพและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น วันนี้เรามี 5 วิธีระบายความร้อนในห้องช่วยให้ห้องของคุณเย็นสบาย ดังนี้
1.เปิดหน้าต่างระบายอากาศ
การเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท จะช่วยลดอุณหภูมิภายในห้องลงได้ ควรเปิดหน้าต่างในช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเย็นที่อากาศยังไม่ร้อนจัด
2. ใช้พัดลมไอเย็น
พัดลมไอเย็น เป็นอีกตัวเลือกที่ดีสำหรับการระบายความร้อนในห้อง โดยเฉพาะห้องที่มีขนาดเล็ก พัดลมไอเย็นจะช่วยลดอุณหภูมิในห้องโดยการดึงน้ำผ่านแผ่นกรอง ทำให้อากาศเย็นลง
3. ปลูกต้นไม้ในห้อง
การปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับความร้อนและปล่อยออกซิเจน ควรปลูกต้นไม้ไว้บริเวณรอบ ๆ บ้าน หรือวางต้นไม้กระถางไว้ในห้อง เนื่องจากการปลูกต้นไม้จะช่วยเพิ่มความชื้นและทำให้ห้องเย็นลง และนี่คือต้นไม้ที่แนะนำแก่การปลูกที่บ้าน
– ลิ้นมังกร : เป็นต้นไม้ที่ดูแลง่าย ทนทานต่อสภาวะแสงน้อยและการรดน้ำน้อย
– พลูด่าง : เป็นไม้เลื้อยที่ทนทาน เติบโตได้ดีในร่ม มีลวดลายบนใบสวยงาม ชอบความชื้นสูง
– ยางอินเดีย : เป็นต้นไม้ที่มีใบใหญ่หนาสีเขียวเข้มดูสวยงาม
– เดหลี : เป็นต้นไม้ใบสีเขียวเข้ม มีดอกสีขาว ชอบแสงแดดรำไร
– ต้นไทรใบสัก : ใบใหญ่และรูปทรงสวยงาม ช่วยฟอกอากาศและเพิ่มความชื้นในอากาศ
– มอนสเตอร่า : ไม้เลื้อยใบแปลกตา สวยงาม เหมาะกับการตกแต่งบ้าน ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ ดูดซับสารพิษ
– เฟิร์นบอสตัน : เป็นเฟิร์นที่สวยงาม ชอบความชื้นสูง
– กล้วยไม้ : สามารถดูดซับสารพิษ มีหลายสายพันธุ์ เหมาะสำหรับวางไว้ในห้องนอน ห้องทำงาน หรือห้องนั่งเล่น
4. ปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ ล้วนปล่อยความร้อนออกมา ควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน และเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงาน
5. ใช้แอร์เคลื่อนที่
ห้องร้อน แอร์เคลื่อนที่ ช่วยได้ หนึ่งในวิธีทำให้ห้องเย็น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น ที่บ้าน หรือตามหอพัก คอนโดมิเนียมที่มีข้อจำกัดในการติดตั้ง ไม่ต้องเจาะผนัง นอกจากนี้ ข้อดีของแอร์เคลื่อนที่สามารถใช้ในห้องที่ไม่มีหน้าต่างหรือห้องที่มีหน้าต่างขนาดเล็กที่ไม่สามารถติดตั้งแอร์หน้าต่างได้ อีกทั้งสามารถทำความเย็นเฉพาะจุดที่ต้องการได้ ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับการทำความเย็นทั้งบ้าน Bwell มีแอร์เคลื่อนที่ ที่ให้ความเย็นเต็มบีทียู เย็นเร็ว เย็นแรง เย็นไกล ขอแนะนำ 2 รุ่น ต่อไปนี้
แอร์เคลื่อนที่ Bwell รุ่น BPAC-09
แอร์เคลื่อนที่ที่มีขนาดทำความเย็น 9,000 BTU ต่อชั่วโมง ปรับค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 15 ถึง 31 องศาเซลเซียส ปรับความแรงพัดลมได้ถึง 2 ระดับ และปรับทิศทางลมได้ตามต้องการ ที่สำคัญ แอร์เคลื่อนที่ Bwell รุ่น BPAC-09 ยังน้ำหนักเพียง 22 กิโลกรัม และมีล้อเคลื่อนที่ติดตั้งมาให้ ช่วยให้สะดวกสบายต่อการขนย้ายใช้งานได้ในทุกสถานที่
แอร์เคลื่อนที่ Bwell รุ่น BPAC-12
แอร์เคลื่อนที่ที่มาพร้อมดีไซน์สวยงามทันสมัย ระบบดิจิทัลที่แสดงตัวเลขอุณหภูมิหน้าเครื่อง โดดเด่นด้วยประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่มีขนาดทำความเย็นสูงถึง 12,000 BTU ต่อชั่วโมง มีท่อลมร้อนต่อออกนอกหน้าต่าง และมีโหมดทำความเย็น ปรับค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 15 ถึง 31 องศาเซลเซียส น้ำหนักเพียง 30 กิโลกรัม และไม่ต้องระบายน้ำบ่อย เพราะมีระบบน้ำหมุนเวียนในเครื่อง ช่วยให้สะดวกสบายต่อการใช้งานเป็นที่สุด
ทั้งหมดนี้คือ 5 วิธีทำให้ห้องเย็น สู้อากาศร้อน ลองทำดู รับรองว่าห้องของคุณจะเย็นสบาย นอนหลับสบายมากขึ้น ไม่ต้องกังวลกับอากาศร้อนอบอ้าวอีกต่อไป และอย่าลืมดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวสู้กับอากาศร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ