เครื่องฟอกอากาศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Air Purifier หรือ Air Cleaner เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบมาเพื่อกรองอากาศภายในห้องหรือพื้นที่ต่าง ๆ โดยมีหน้าที่หลักในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส และกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพื่อให้อากาศสะอาดและบริสุทธิ์มากขึ้น
ประโยชน์ของเครื่องฟอกอากาศ
- ลดฝุ่นละออง PM2.5 และสารก่อภูมิแพ้: เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 สามารถลดฝุ่นละอองและสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝุ่นละออง PM2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคหอบหืด เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 สามารถดักจับอนุภาคเหล่านี้ได้ รวมถึงสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นไรฝุ่นหรือเกสรดอกไม้ ซึ่งช่วยลดอาการแพ้และปัญหาทางเดินหายใจได้
- ขจัดกลิ่น ควันบุหรี่ และกลิ่นอาหาร: เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพมักมาพร้อมกับแผ่นกรองคาร์บอนที่ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหาร และกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศในห้องมีกลิ่นหอมสดชื่นและไม่รบกวน นอกจากนี้ยังช่วยลดกลิ่นจากสัตว์เลี้ยงหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในบ้านหรือห้องทำงานได้อีกด้วย
- ฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสในอากาศ: เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA หรือใช้เทคโนโลยี UV สามารถกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสในอากาศได้ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคต่าง ๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในยุคที่มีการระบาดของโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล หรืออาคารสำนักงาน
- ลดอาการภูมิแพ้และปัญหาทางเดินหายใจ: การใช้เครื่องฟอกอากาศช่วยลดสารก่อภูมิแพ้และอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจหรือภูมิแพ้มีอาการดีขึ้นและหายใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหลอดลมอักเสบ
ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสม
- ความต้องการในการใช้งาน: ควรพิจารณาจากไลฟ์สไตล์และความต้องการเฉพาะ เช่น หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นภูมิแพ้ ควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA เพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ หรือที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ควรเลือกเครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 ที่มาพร้อมกับแผ่นกรองในระดับที่เหมาะสม
- ประเภทของเครื่องฟอกอากาศ (HEPA, Activated Carbon, UV, Ionizer): โดยเครื่องฟอกอากาศ HEPA เหมาะสำหรับการกรองอนุภาคขนาดเล็ก เช่น PM 2.5 และสารก่อภูมิแพ้ เครืองฟอกอากาศ Activated Carbon เหมาะสำหรับใช้ในการขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์และก๊าซ VOCs เครื่องฟอกอากาศแบบ UV จะนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสเป็นหลัก และเครื่องฟอกอากาศระบบ Ionizer จะสร้างไอออนเพื่อช่วยดักจับอนุภาคในอากาศ การเลือกเครื่องฟอกอากาศจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานด้วย
- พื้นที่การใช้งานและขนาดห้องที่เหมาะสม: ควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศสามารถครอบคลุมพื้นที่ห้องได้อย่างเหมาะสม โดยคำนวณจากขนาดห้องและอัตราการเปลี่ยนถ่ายอากาศที่เครื่องสามารถทำได้
- ค่า CADR (Clean Air Delivery Rate): พิจารณาเลือกเครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 จากค่า CADR ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ โดยแสดงถึงปริมาณอากาศที่สามารถทำความสะอาดได้ต่อนาที ยิ่งค่า CADR สูง ยิ่งแสดงว่าเครื่องมีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศสูง
- ฟังก์ชันพิเศษ: ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และฟังก์ชันที่ต้องการเฉพาะบุคคล เช่น เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบอัตโนมัติ ช่วยปรับระดับการทำงานของเครื่องตามคุณภาพอากาศ สามารถควบคุมสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน ช่วยให้สามารถควบคุมเครื่องฟอกอากาศได้จากที่ไกลผ่านสมาร์ตโฟน และระบบตรวจจับและแจ้งเตือนคุณภาพอากาศ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้รู้ถึงสถานะของคุณภาพอากาศในห้องได้
คำแนะนำในการใช้งานเครื่องฟอกอากาศ
การใช้งานเครื่องฟอกอากาศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งานควรตั้งค่าและเลือกโหมดการทำงานให้เหมาะสม โดยพิจารณาตามสภาพแวดล้อมในการใช้งานร่วมด้วย เช่น โหมดอัตโนมัติที่ปรับระดับการทำงานตามคุณภาพอากาศ หรือโหมดเงียบสำหรับการนอนหลับ รวมถึงการตรวจสอบและเปลี่ยนแผ่นกรองเป็นประจำก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาคุณภาพการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ
การดูแลรักษาเครื่องฟอกอากาศ
- ควรทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศอย่างสม่ำเสมอ
ผู้ใช้งานควรทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศทั้งภายในและภายนอก โดยให้ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์เช็ดฝุ่นและคราบสกปรกจากตัวเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความสะอาดและความสวยงามของเครื่อง และควรทำความสะอาดแผ่นกรองชั้นนอกทุก ๆ 2 สัปดาห์ หากใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องดูดฝุ่นกำจัดฝุ่นหยาบ และหลีกเลี่ยงการใช้แปรงหรือเครื่องมือที่อาจทำให้เส้นใยเสียหาย ที่สำคัญ อย่าลืมเปลี่ยนแผ่นกรอง HEPA และแผ่นกรองคาร์บอนเมื่อใช้งานครบกำหนดระยะเวลาด้วย โดยควรเปลี่ยนทุก 6 ถึง 12 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและประสิทธิภาพที่ลดลง แผ่นกรองชั้นนอกสามารถทำความสะอาดได้ แต่แผ่นกรอง HEPA ควรทำความสะอาดด้วยการดูดฝุ่นเท่านั้น
- ความถี่ในการเปลี่ยนแผ่นกรอง
โดยทั่วไป แผ่นกรองเครื่องฟอกอากาศ HEPA ควรเปลี่ยนทุก ๆ 6 ถึง 12 เดือน แผ่นกรองคาร์บอนควรเปลี่ยนทุกปี รวมถึงแผ่นกรองชั้นนอกควรถอดทำความสะอาดทุก ๆ 2 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและระยะเวลาในการใช้งานในแต่ละวันด้วย ผู้ใช้งานสามารถสังเกตจากสัญญาณแจ้งเตือนให้เปลี่ยนแผ่นกรองจากสัญลักษณ์เตือนบนเครื่องฟอกอากาศได้เช่นกัน
ประเภทของเครื่องฟอกอากาศ
เครื่องฟอกอากาศมีหลายประเภทตามเทคโนโลยีการกรองอากาศ แต่หลัก ๆ มีดังนี้:
- เครื่องฟอกอากาศแบบ HEPA Filter
เครื่องฟอกอากาศแบบ HEPA Filter เป็นหนึ่งในประเภทที่นิยมมากที่สุด เหมาะสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืด เนื่องจากสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอน โดยมีประสิทธิภาพในการกรองอย่างน้อย 99.97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรวมถึงฝุ่น PM2.5 สารก่อภูมิแพ้ แบคทีเรีย และไวรัส HEPA Filter มีหลายเกรด เช่น H12 H13 และ H14 โดยเกรดที่สูงขึ้นจะมีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาดเล็กมากขึ้น นอกจากนี้ HEPA Filter ยังใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดสูง ตามโรงพยาบาลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
- เครื่องฟอกอากาศแบบ Activated Carbon (ถ่านกัมมันต์)
เครื่องฟอกอากาศที่นิยมใช้สำหรับดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์และสารเคมีในอากาศ เช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหาร และกลิ่นอับชื้น แผ่นกรองคาร์บอนมักใช้ร่วมกับแผ่นกรอง HEPA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดกลิ่นและสารเคมี เหมาะสำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงหรือมีปัญหากลิ่นรบกวน
- เครื่องฟอกอากาศแบบ UV (แสงอัลตราไวโอเลต)
เครื่องฟอกอากาศที่ใช้แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสในอากาศ เทคโนโลยีนี้มักใช้ร่วมกับแผ่นกรอง HEPA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรค
- เครื่องฟอกอากาศแบบ Ionizer (ปล่อยประจุลบ)
เครื่องฟอกอากาศประเภทที่ปล่อยประจุลบ เพื่อดักจับอนุภาคขนาดเล็กในอากาศ ทำให้อนุภาคเหล่านั้นตกลงสู่พื้น แต่ก็มีข้อเสียที่ผู้ใช้งานอาจต้องทำความสะอาดพื้นและเฟอร์นิเจอร์บ่อยขึ้น และต้องเลือกเครื่องฟอกอากาศที่ไม่ปล่อยโอโซนมากเกินไป เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน
- เครื่องฟอกอากาศแบบ Ozone (โอโซน)
เครื่องฟอกอากาศที่ใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น แต่ควรใช้หลังจากที่ไม่มีคนอยู่ในห้อง เนื่องจากโอโซนอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจหากใช้ในปริมาณที่สูงเกินไป
- เครื่องฟอกอากาศแบบ Hybrid (ลูกผสม)
เครื่องฟอกอากาศที่ผสมผสานเทคโนโลยีหลายแบบเข้าด้วยกัน ทั้ง HEPA Activated Carbon และ UV เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการกรองอากาศ โดย HEPA จะช่วยกรองฝุ่น Activated Carbon ช่วยดูดซับกลิ่น และ UV ช่วยในการฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัส เพื่อให้การฟอกอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด
เครื่องฟอกอากาศเหมาะกับใคร?
เครื่องฟอกอากาศเหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการอากาศสะอาดขึ้น แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนต่อไปนี้
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด: เนื่องจากเครื่องฟอกอากาศสามารถดูดและกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้ดี ทั้งฝุ่นละออง ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ และไรฝุ่น
- เด็กเล็กและผู้สูงอายุ: เครื่องฟอกอากาศจะช่วยกรองอากาศให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ตอบโจทย์สำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่มีระบบทางเดินหายใจบอบบาง ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ
- ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหรือพื้นที่ที่มีมลภาวะสูง: เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 สามารถกรองฝุ่นอนุภาคขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถลดฝุ่น PM2.5 และมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และหมอกควันได้เป็นอย่างดี
- ผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง: เครื่องฟอกอากาศช่วยกำจัดขนสัตว์และกลิ่นไม่พึงประสงค์จากสัตว์เลี้ยงได้
- ผู้ที่สูบบุหรี่หรืออาศัยอยู่กับคนสูบบุหรี่: เครื่องฟอกอากาศช่วยกรองควันบุหรี่และกลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ้าน
- ผู้ที่มีปัญหากลิ่นในบ้าน: เครื่องฟอกอากาศสามารถดูดและกรองกลิ่นจากการทำอาหาร กลิ่นอับ และกลิ่นสารเคมีจากเฟอร์นิเจอร์ได้
FAQ: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องฟอกอากาศ
- เมื่อใดควรเปิดเครื่องฟอกอากาศ?
การเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 ที่เหมาะสม คือเปิดเมื่อคุณภาพอากาศไม่ดี เช่น มีฝุ่นละออง PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน หรือเมื่อมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหาร หรือกลิ่นอับชื้น เมื่อมีสัตว์เลี้ยงที่อาจก่อให้เกิดสารก่อภูมิแพ้ รวมถึงในช่วงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่มีละอองเกสรดอกไม้มากขึ้น หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด การเปิดเครื่องฟอกอากาศจะสามารถช่วยลดอาการภูมิแพ้ให้กับคนที่คุณรักได้ด้วย
- การเปิดเครื่องฟอกอากาศตลอดทั้งวัน
โดยทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศตลอดทั้งวัน แต่ในกรณีที่หากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะสูงหรือมีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยง การเปิดเครื่องฟอกอากาศตลอดทั้งวันจะช่วยให้อากาศสะอาดและปลอดภัยต่อทุกคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม หากไม่มีใครอยู่ในห้อง ควรปิดเครื่องฟอกอากาศเพื่อประหยัดพลังงานในการใช้งาน
- เครื่องฟอกอากาศ ควรวางส่วนไหนในห้อง?
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับวางเครื่องฟอกอากาศ คือพื้นที่โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง ควรห่างจากผนังและมุมห้องอย่างน้อย 20 ถึง 30 เซนติเมตร และสูงจากพื้นประมาณ 3 ถึง 5 ฟุต เพื่อให้อากาศไหลเวียนของอากาศสะดวก และช่วยให้เครื่องฟอกอากาศสามารถดูดอากาศโดยรอบได้ครอบคลุมมากที่สุด
- เครื่องฟอกอากาศประเภทไหนเหมาะสำหรับแก้ปัญหาฝุ่น?
หากต้องการ แก้ปัญหาฝุ่นในอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น PM 2.5 ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ ควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA-13 (High-Efficiency Particulate Air) เนื่องจากสามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประเภทเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะกับการกรองฝุ่น
เครื่องฟอกอากาศแบบ HEPA Filter
- คุณสมบัติ: สามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอนได้มากถึง 99.97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรวมถึงฝุ่น PM 2.5 ไรฝุ่น ละอองเกสร และสารก่อภูมิแพ้
- เหมาะสำหรับ: บ้านที่มีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เป็นภูมิแพ้ เนื่องจากสามารถช่วยลดอาการแพ้และปัญหาทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ข้อดี: ประสิทธิภาพสูงในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก ไม่ปล่อยสารเคมีหรือโอโซน และไม่ทำให้พื้นหรือเฟอร์นิเจอร์เป็นฝุ่น
เครื่องฟอกอากาศแบบ Ionizer
- คุณสมบัติ: ปล่อยประจุลบเพื่อจับฝุ่นขนาดเล็กและทำให้ตกลงสู่พื้น ช่วยให้อากาศสะอาดขึ้น
- ข้อควรพิจารณา: อาจต้องทำความสะอาดพื้นและเฟอร์นิเจอร์บ่อยขึ้นเพื่อกำจัดฝุ่นที่ตกลงมา ควรเลือกเครื่องที่ไม่ปล่อยโอโซนมากเกินไป เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
- ข้อดี: ราคาถูกกว่าเครื่องฟอกอากาศแบบอื่น ๆ และมีขนาดเล็กพกพาได้ง่าย
เครื่องฟอกอากาศ Bwell (HEPA + Activated Carbon +UV+PCO):
- คุณสมบัติ: ผสมผสานเทคโนโลยีหลายแบบเข้าด้วยกัน โดย HEPA ช่วยกรองฝุ่น PM2.5 และ Activated Carbon ช่วยดูดซับกลิ่นและสารเคมี และ UV + PCO ทำลายชีวมลพิษ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย Titanium dioxide (TiO2) ทำงานร่วมกับรีงสีอัลตราไวโอเล็ตทำให้เกิดปฎิกิริยา Photocatalytic Oxidation (PCO) ซึ่งจะทำลายก๊าซมลพิษและกลิ่นโดยการเปลี่ยนให้เป็นสารไร้มลพิษ
- ข้อดี: มีประสิทธิภาพสูงในการกรองอากาศทั้งฝุ่น กลิ่น และสารเคมี ทำให้อากาศสะอาดและปราศจากกลิ่นรบกวน
หายห่วงเรื่องมลพิษในอากาศ